วันเสาร์ที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

เทคนิคการค้นหาข้อมูลบน WWW




เทคนิคการค้นหาข้อมูลบน WWW
จากคำแนะนำของ Greg R. Notess ซึ่งเป็นบรรณารักษ์งานบริการของห้องสมุดมหาวิทยาลัย Montana State ได้รวบรวมเทคนิคและกลยุทธ์ในการสืบค้นสารสนเทศบน WWW ไว้ว่าควรมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ให้เข้าตรงถึงแหล่งสารสนเทศจากผู้ผลิตสารสนเทศที่เชี่ยวชาญเฉพาะ
ให้เข้าตรงถึงแหล่งสารสนเทศจากผู้ผลิตสารสนเทศที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน สมาคมวิชาชีพเฉพาะโดยตรง (straight to the source) เช่น ถ้าจะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็ง น่าจะเข้าไปยัง Web Sites ของ National Cancer Institute โดยตรง ซึ่งจะมีแหล่งข้อมูล Cancer Net ให้ค้นหาข้อมูลได้โดยตรง ส่วนใหญ่แล้วผู้ให้บริการสารสนเทศหรือบรรณารักษ์มีทักษะในการทราบถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เป็นอย่างดี ทั้งในรูปสิ่งพิมพ์ ตำรา ฐานข้อมูลออนไลน์เชิงพาณิชย์ CD-ROM แหล่งสารสนเทศอื่น ๆ หรือองค์กรที่จัดทำสารสนเทศ
2. การทายหรือเดา URL(Guessing URLs)
การทายหรือเดา URL (Guessing URLs) ของแหล่งสารสนเทศที่คิดว่าน่าจะมีข้อมูลตรงกับที่ต้องการ โดยเริ่มต้นด้วย www จากนั้นเป็นคำย่อของหน่วยงานนั้น และต่อด้วย Domain และประเทศที่ตั้ง ตัวอย่าง URL ของหน่วยงานประเภทต่าง ๆ เช่น
Chrysier Corporation = http://www.chrysier.org/
University of Indiana = http://www.idiana.edu/

ข้อมูลภาพจาก http://www.cnn.com/


3. การค้นหาจากบัญชีหัวเรื่อง (Subject Directory)
การค้นหาจากบัญชีหัวเรื่อง (Subject Directory) หากการเดาหรือการทาย URL ไม่สำเร็จ จากสาเหตุต่าง ๆ ให้เริ่มต้นด้วย Search Site ที่มีบัญชีหัวเรื่องไว้ให้ เช่น Yahoo การค้นอย่างรวดเร็วในหัวเรื่องที่จัดจำแนกไว้แล้วอาจมีโอกาสจะช่วยให้เข้าถึงหน้าสำคัญของแหล่งข้อมูลนั้นได้ อาจแบ่งตามลักษณะคำถามต่าง ๆ ดังนี้
3.1 ในการค้นหาจากหัวข้อกว้าง ๆ (Broad Topics) ควรค้นจากบัญชีหัวเรื่องที่จัดจำแนกลำดับชั้นเพราะสามารถอ่านข้อมูลได้ตามลำดับหน้าช่วยให้ผู้ค้นหาข้อมูลที่ไม่ได้ระบุความเฉพาะเจาะจง สามารถเห็นโครงสร้างของข้อมูลได้ชัดเจน หากสนใจเรื่องใดก็เลือกอ่านได้
3.2 ในการค้นหาข่าว หรือ เหตุการณ์ปัจจุบัน (Current Events) ข่าวถูกจัดเป็นหัวเรื่องใหญ่ใน Search site ที่เป็นประเภท Subject Directory ฉะนั้นการค้นหาข่าวจะได้ผลดีหากค้นจากเครื่องมือช่วยค้นประเภทนี้ Yohoo จัดหัวข้อข่าวไว้ที่ Hot News ภายในหัวข้อใหญ่ News Media
3.3 ในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ (Product Search) สามารถใช้บัญชีหัวเรื่องสืบค้นได้จากรายชื่อบริษัทผู้ผลิตอุตสาหกรรม บริษัทผู้จัดจำหน่าย บริษัทผู้ขาย เป็นต้น เช่นต้องการค้นหาสินค้าประเภท Computer Hardware Software
4. กลยุทธ์ในการใช้เครื่องมือช่วยค้น(Search Engine Strategies)
กลยุทธ์ในการใช้เครื่องมือช่วยค้น (Search Engine Strategies) ปกติแล้วผู้ที่เริ่มหัดใหม่ในการสืบค้นข้อมูล WWW มักจะใช้วิธีนี้คือ Search Engines ช่วยค้นหา URL ของแหล่งสารสนเทศที่ต้องการ แต่ด้วยผลลัพธ์ที่ได้ออกมามีจำนวนมากมายทำให้เกิดปัญหาในการสืบค้น ฉะนั้นในการค้นวิธีนี้ควรมีเทคนิคในการสืบค้นในแต่ละคำถามแตกต่างกันไป ซึ่งอาจแยกรายละเอียดได้ดังนี้
4.1 คำถามที่มีความหมายเฉพาะเป็นหนึ่งเดียว (Unique Keywords) ลักษณะคำถามเช่นนี้จะช่วยให้การค้นได้ผลดีเมื่อต้องสืบค้นจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ คำสำคัญที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อยา ชื่อสินค้า (เฉพาะตัว) เลขทะเบียนของสารเคมี ชื่อที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และชื่อคน สามารถใช้เป็นคำถามและผลการสืบค้นจะค่อนข้างดี ยกตัวอย่าง ชื่อทางวิทยาศาสตร์ และชื่อคน สามารถใช้เป็นคำถามและผลการสืบค้นจะค่อนข้างดี ยกตัวอย่างชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งสามารถจำแนกพิสูจน์ความเป็นตัวเองได้ดี
4.2 การใช้กลุ่มคำ หรือ วลี (Phrase Searching Search Engine) บางชื่อสามารถให้สืบค้นโดยใช้กลุ่มคำ (วลี) เช่น AltaVista, หรือ Infoseek การค้นวลี ให้ใช้เครื่องหมายในคำพูด (double quotes) ล้อมรอบกลุ่มคำนั้นไว้ ผลของการค้นจากกลุ่มคำนั้น เป็นการจำกัดคำตอบให้แคบลงมาดีพอสมควร
4.3 การค้นโดยใช้เขตข้อมูล (Field Searching) เขตข้อมูลที่สำคัญของแต่ละแหล่งข้อมูลน่าจะหมายถึง ชื่อเรื่อง (Title) และ URLs ฉะนั้นการสืบค้นที่สามารถระบุถึงชื่อเรื่องและ URL ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้การสืบค้นถูกต้องมากยิ่งขึ้น ใน AltaVista, Infoseek สามารถสืบค้นจากการระบุ Field ได้ โดยต้องระบุคำค้นให้เป็นคำสำคัญที่ปรากฏ ในชื่อเรื่องนั้น ๆ
4.4 การจำกัด (Limits) การค้นใน AltaVista (advanced search) สามารถระบุช่วงเวลาเพื่อเป็นการจำกัดของการสืบค้น โดยระบุให้ได้ข้อมูลที่เป็นหน้าที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลครั้งล่าสุด ตัวอย่างการค้นหา TWA flight 800 ถึงแม้จะค้นโดยใช้กลุ่มคำจำนวนคำตอบก็ยังมากมายอยู่ แต่เมื่อระบุช่วยเวลาในช่วยเดือนที่ผ่านมาทำให้ข้อมูลที่ตอบออกมาทันสมัยและมีจำนวนน้อยลงมาก แต่เมื่อระบุช่วงเวลาในช่วงเดือนที่ผ่านมาทำให้ข้อมูลที่ตอบออกมาทันสมัยและมีจำนวนน้อยลงมาก
5. กลยุทธ์แบบหลายขั้นตอน (Multiple Strategy)
กลยุทธ์แบบหลายขั้นตอน (Multiple Strategy) ปกติแล้วการที่จะประสบความสำเร็จในการสืบค้นสารสนเทศบน WWW มักต้องใช้ความพยายามหลายครั้งจากลักษณะของเอกสารที่เป็นแบบไฮเปอร์เท็กซ์ คือมีการเชื่อมโยงไปมาฉะนั้นจากผลลัพธ์ในคำตอบแรกอาจจะไม่ให้คำตอบ แต่เอกสารที่เชื่อมโยงต่อไปจุดนี้อาจมีคำตอบ เป็นต้น ในฐานข้อมูลเว็บขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่มีการจัดลำดับความถูกต้องของผลลัพธ์ตามหลักคณิตศาสตร์ไว้ให้เพื่อเป็นการช่วยให้ผู้ค้นเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด (แต่การทำงานในจุดนี้บางครั้งก็ล้มเหลว) หมายความว่าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดอาจไม่ได้ถูกจัดไว้อันดับที่ 1 ฉะนั้นให้ดูผลลัพธ์ประมาณ 10 คำตอบแล้วทำการเชื่อมโยงต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อตรวจสอบ อาจพบคำตอบที่ถูกต้องในระดับที่ 5 หรือ 6 ก็เป็นไปได้
ถ้าสามารถเข้าใกล้ถึงแหล่งข้อมูลเฉพาะสาขาวิชา (Subject-Specific Internet Resource Guide) จะเป็นประโยชน์มากหากสามารถอ่านข้อมูลชุดนี้ได้ แหล่งที่สำคัญที่ขอแนะนำคือ
Argus Clearinghouse (http://www.clearinghouse.net/)
Yahoo (http://www.yahoo.com/)
Google (http://www.google.com/)
แต่อย่างไรก็ตามการสืบค้นหาสารสนเทศบน WWW คงมีกลยุทธ์อีกมากมายในการสืบค้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คำแนะนำนี้คงช่วยให้เข้าถึงแหล่งสารสนเทศที่ถูกต้องได้รวดเร็วยิ่งขึ้นไม่มากก็น้อย


ที่มา : http://www2.se-ed.net/searchengine/search_technic.htm พงษ์ศักดิ์ บุญภักดี

บริการค้นข้อมูล World Wide Web




บริการค้นข้อมูล World Wide Web
การนำเสนอข้อมูลในระบบ WWW (World Wide Web) พัฒนาขึ้นมาในช่วงปลายปี 1989 โดยทีมงานจาก ห้องปฏิบัติการทางจุลภาคฟิสิกส์แห่งยุโรป (European Particle Physics Labs) หรือที่รู้จักกัน ในนาม CERN (Conseil European pour la Recherche Nucleaire) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และได้มี การพัฒนาภาษาที่ใช้สนับสนุน การเผยแพร่เอกสารของนักวิจัย หรือเอกสารเว็บ (Web Document) จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ไปยังสถานที่ต่างๆ ในระบบ WWW เรียกว่า ภาษา HTML (HyperText Markup Language)


การเผยแพร่ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ผ่านสื่อประเภทเว็บเพจ (WebPage) เป็นที่นิยมกันอย่างสูงในปัจจุบัน ไม่เฉพาะข้อมูลโฆษณาสินค้า ยังรวมไปถึงข้อมูลทางการแพทย์ การเรียน งานวิจัยต่างๆ เพราะเข้าถึงกลุ่มผู้สนใจได้ทั่วโลก ตลอดจนข้อมูลที่นำเสนอออกไป สามารถเผยแพร่ ได้ทั้งข้อมูลตัวอักษร ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง และภาพเคลื่อนไหว มีลูกเล่นและเทคนิคการนำเสนอ ที่หลากหลาย อันส่งผลให้ระบบ WWW เติบโตเป็นหนึ่ง ในรูปแบบบริการ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ ระบบอินเทอร์เน็ต


ลักษณะเด่นของการนำเสนอข้อมูลเว็บเพจ คือ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังจุดอื่นๆ บนหน้าเว็บได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บอื่นๆ ในระบบเครือข่าย อันเป็นที่มาของคำว่า HyperText หรือข้อความที่มีความสามารถ มากกว่าข้อความปกตินั่นเอง จึงมีลักษณะคล้ายกับว่าผู้อ่านเอกสารเว็บ สามารถโต้ตอบกับเอกสารนั้นๆ ด้วยตนเอง ตลอดเวลาที่มีการใช้งานนั่นเอง


ด้วยความสามารถดังกล่าวข้างต้น จึงมีผู้ให้คำนิยาม Web ไว้ดังนี้


"World Wide Web as a global, interactive, cross-platform, distributed, graphical hypertext information system that runs over the Internet."


The Web is a Graphical Hypertext Information System.

การนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บ เป็นการนำเสนอด้วยข้อมูล ที่สามารถเรียก หรือโยงไปยังจุดอื่นๆ ในระบบกราฟิก ซึ่งทำให้ข้อมูลนั้นๆ มีจุดดึงดูดให้น่าเรียกดู


The Web is Cross-Platform.

The Web doesn't care about user-interface wars between companies, such as UNIX, Windows 3.11, Windows 95, Windows NT, System 6/7 of Macintosh. ข้อมูลบนเว็บไม่ยึดติดกับระบบปฏิบัติการ (Operating System : OS) เนื่องจากเป็นข้อมูลนั้นๆ ถูกจัดเก็บเป็น Text File ดังนั้นไม่ว่าจะถูกเก็บไว้ใน คอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS เป็น Unix หรือ Windows NT ก็สามารถเรียกดูจากคอมพิวเตอร์ที่ใช้ OS ต่างจากคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่ายได้


The Web is Distributed.

The information is distributed globally across thousands of different sites. ข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีปริมาณมากจากทั่วโลก และผู้ใช้จากทุกแห่งหน ที่สามารถต่อเข้า ระบบอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา ดังนั้นข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต จึงสามารถเผยแพร่ได้รวดเร็ว และกว้างไกล


The Web is interactive.

The Web is interactive by nature. การทำงานบนเว็บ เป็นการทำงานแบบโต้ตอบกับผู้ใช้ โดยธรรมชาติอยู่แล้ว ดังนั้นเว็บจึงเป็นระบบ Interactive ในตัวมันเอง เริ่มตั้งแต่ผู้ใช้เปิดโปรแกรมดูผลเว็บ (Browser) พิมพ์ชื่อเรียกเว็บ (URL : Uniform Resource Locator) เมื่อเอกสารเว็บแสดงผล ผ่านเบราเซอร์ ผู้ใช้ก็สามารถคลิกเลือกรายการ หรือข้อมูลที่สนใจ อันเป็นการทำงานแบบโต้ตอบไปในตัวนั่นเอง


การใช้โปรแกรมประเภทนี้ จะต้องมีโปรแกรมลูก หรือ Browser ที่สามารถทำให้ผู้ใช้ สามารถมองเห็นภาพ หรือข้อมูลแบบต่างๆ โปรแกรมประเภทนี้ได้แก่ MS Internet Exploror, Mosaic, Netscape, Cello เป็นต้น

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

วันอังคารที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

............กลยุทธ์ในการสืบค้นแหล่งเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา










สิ่งมหัศจรรย์...


1.Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)
2. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris
3. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำพวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature หรือ final fantasy +x
4. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย
5. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF
6. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"
7. Google สามารถแปลเว็บภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเว็บ) 8. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
Adobe Portable Document Format (นามสกุลของไฟล์ pdf)
Adobe PostScript (นามสกุลของไฟล์ ps)
Lotus 1-2-3 (นามสกุลของไฟล์ wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
Lotus WordPro (นามสกุลของไฟล์ lwp)
MacWrite (นามสกุลของไฟล์ mw)
Microsoft Excel (นามสกุลของไฟล์ xls)
Microsoft PowerPoint (นามสกุลของไฟล์ ppt)
Microsoft Word (นามสกุลของไฟล์ doc)
Microsoft Works (นามสกุลของไฟล์ wks, wps, wdb)
Microsoft Write (นามสกุลของไฟล์ wri)
Rich Text Format (นามสกุลของไฟล์ rtf)
Text (นามสกุลของไฟล์ ans หรือ txt)

วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)
9. Google สามารถเก็บ Cached ของเว็บที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเว็บบางเว็บที่อาจโดนลบไปแล้ว โดยข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)
10.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword
11.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเว็บนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น link:www.google.com แต่คุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้
12.Google สามารถค้นหาเว็บที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเว็บเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu
13.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเว็บที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเว็บนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเว็บมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ ใช่เลย! เจอแน่ๆ ใน Google ไทย
14.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ 15.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์
first name (or first initial), last name, city (state is optional)
first name (or first initial), last name, state
first name (or first initial), last name, area code
first name (or first initial), last name, zip code
phone number, including area code
last name, city, state
last name, zip code
แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน
16.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com) 17.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย
คำสำคัญ:
นศ.วัดผล





ที่มา จาก http://www.police.go.th/google.html